กลางทศวรรษที่ 1990 ถึงปลายทศวรรษที่ 1990 ของ แฟชั่นฮิปฮอป

แก๊งก์สตาสไตล์

แก็งก์สตาสไตล์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า "แนวแก๊งก์" แฟชั่นแบบแก็งก์สตาเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในแฟชั่นฮิปฮอป ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แฟชั่นฮิปฮอป ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของอันธพาลข้างถนน และนักโทษ

แร็ปเปอร์ฝั่งเวสต์โคสต์ นำเอาสไตล์ของพวกเม็กซิกัน-อเมริกันมา[3] อย่างเช่น การใส่กางเกงหลวม ๆ , รอยสักสีดำ, มีการสักบนร่างกายเป็นสัญลักษณ์แก็งก์ หรือมีการโผกผ้า Banadas สีต่างๆนาๆเพื่อบ่งบอกแก๊งก์ เช่นผ้าสีแดงเป็นแก็งก์ Bloods หรือสีฟ้าเป็นแก็งก์ Crips เป็นต้น , การเอาเสื้อเชิร์ตหลุดออกจากนอกกางเกงหนึ่งข้าง[3] ยีนส์สีเข้มแบบนักโทษก็ได้รับความนิยม และสไตล์การใส่กางเกงหลุดตูด เอวต่ำโดยไม่มีเข็มขัด ก็เป็นสไตล์ที่มาจากในคุก รวมถึงกิริยา สัญลักษณ์ทางมือ ก็มาจากวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกันแถบลอสแอนเจลิสก่อน แล้วจึงขยับขยายโดยสังคมฮิปฮอปในทางกว้าง

แฟชั่นฮิปฮอปในหมู่คนรวย

ฮิปฮอปทางฝั่งเวสต์โคสต์ สังคมฮิปฮอปได้หวนสู่แฟชั่นแก๊งก์สเตอร์ในยุค 1930-1940 มาเป็นแรงบันดาลใจ[6] อิทธิพลมาเฟีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง Scarface ในปี 1983 ที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวฮิปฮอป

มีแร็ปเปอร์หลายคนแต่งตัวเหมือนพวกแก๊งก์เตอร์ในยุคนั้น อย่างเช่น มีหมวกแบบ bowler, ใส่สูทเสื้อในสองชั้น, เสื้อเชิร์ตผ้าไหม, รองเท้าหนังจระเข้ และในบางแห่งในมิดเวสต์ รวมถึงดีทรอยต์ เป็นสไตล์สำคัญ สไตล์หนึ่งของฮิปฮอปที่นั่น

ในฝั่งอีสต์โคสต์ คำว่าแฟชั่น "ghetto fabulous" คิดคำโดย ฌอน โคมบส์ ก็ได้รับความนิยม มีผู้แต่งกายอย่าง โคมบส์ ,โนทอเรียส บีไอจี, เฟธ อีแวนส์ และรัซเซลล์ ซิมมอนส์

ฮิป-ป็อป

สลิมธัค ใส่ดู-แร็ก

แนวเพลงฮิป-ป็อป ได้รับความนิยมในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จากผลงานแรกเริ่มของฌอน คอมบ์ส แถบนิวยอร์ก ในเวลานั้นแฟชั่นของเขา จะมีลักษณะเสื้อสีสดใส ชุดนักบินพีวีซีสีบาดตา และเครื่องประดับ เขานำแฟชั่นสู่วงการฮิปฮอป และนำทิศทางความเจิดจ้าของสี แสง รวมถึงในมิวสิกวิดีโอที่เขาร่วมสร้าง ฌอน คอมบ์สยังได้ออกไลน์เสื้อผ้า และยังใส่เสื้อผ้าอย่าง Karl Kani และ FUBU เขานำฮิปฮอปก้าวเข้าสู่กระแสหลัก ผลก็คือ กระแสแฟชั่นฮิปฮอปหลายล้านเหรียญดอลล่าร์ และการกลับมาของทรงผมแบบดั้งเดิมของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน อย่าง คอร์นโรว์ และ แอฟโฟร์ รวมถึงทรงผม Caesar สำหรับผู้ที่ไว้ผมแบบคอร์นโรว์ และ Caesar จะรักษาผมโดยการใส่ ดู-แร็ก ขณะนอนหลับหรือกิจกรรมในบ้าน จนดู-แร็ก ก็กลายเป็นแฟชั่นฮิปฮอปอีกอย่างหนึ่ง

ในยุคของฮิป-ป็อป ยังมีการแบ่งแยกแฟชั่นระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ที่แต่ก่อนดูคล้ายคลึงกัน แฟชั่นฮิปฮอปผู้หญิงจะเลียนแบบการแต่งกายของผู้ชาย อย่างเช่นใส่ยีนส์หลวม ๆ ,แว่นตากันแดด "Loc", รองเท้าบู้ตหนัก ๆ ศิลปินที่แต่งตัวอย่าง ดาแบร็ต ซึ่งเธอจะแต่งหน้าบ้าง ต่อมาอุตสาหกรรมแฟชั่นได้ผลิตกางเกงและบู้ตที่ดูเป็นผู้หญิงขึ้น ศิลปินหญิงที่เป็นผู้นำเช่น ลิล คิม และ ฟ็อกซี บราวน์ ที่มีรูปลักษณ์ตื่นเต้น ผจญภัย ส่วนแฟชั่นฮิปฮอปผู้หญิงที่ดูหรูหรา เช่น คิโมรา ลี ซิมมอนส์ เจ้าของไลน์เสื้อผ้า Baby Phat ขณะที่ลอรีน ฮิลล์ และ อีฟ ดูเป็นอนุรักษณ์นิยม แต่ยังคงนำความรู้สึกความเป็นผู้หญิงและฮิปฮอปเข้าด้วยกัน

วัฒนธรรมเครื่องประดับ

บลิง บลิง

ในช่วงกลางถึงปลายยุคทศวรรษ 1990 แพล็ตตินัมได้มาแทนที่ทองคำ สำหรับแฟชั่นฮิปฮอป[3] ศิลปินและแฟนเพลงสวมใส่เครื่องประดับจากแพล็ตตินัม (หรือเงิน) และมักประดับไปด้วยเพชร เจย์-ซี ,จูวีไนล์ และ เดอะฮ็อตบอยส์ ตอบรับกระแสนี้อย่างมาก[3]

การใช้แพล็ตตินัมได้รับความนิยมในที่สุด ไบรอัน วิลเลียม แร็ปเปอร์จากค่าย แคชมันนีเรคคอร์ด ประดับเพชรที่ฟันอย่างถาวร รวมถึงมีแฟชั่นติดเครื่องประดับลงที่ฟันที่สามารถถอดได้ จนมาถึงการมาถึงของแฟชั่นเครื่องประดับ ในการเปลี่ยนศตวรรษใหม่ เกิดแบรนด์หรูหราได้ก้าวสู่ตลาดแฟชั่นฮิปฮอป รวมไปถึงแบรนด์หรูหราอย่าง Gucci และ Louis Vuitton ที่มีแฟชั่นฮิปฮอปปรากฏในมิวสิกวิดีโอและภาพยนตร์

สปอร์ตแวร์

ทอมมี ฮิลฟิเกอร์ เป็นหนึ่งในแบรนด์ด้านสปอร์ตแวร์ที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถึงแม้ว่า Polo, Calvin Klein, Nautica, และ DKNY ก็โด่งดังเช่นกัน[7] สนู๊ปด็อกใส่เสื้อถักของทอมมี ฮิลฟิเกอร์ ออกรายการในแซทเทอร์เดย์ไนท์ไลฟ์ ผลคือในวันถัดมาร้านในนิวยอร์กก็ขายเสื้อแบบนี้หมดอย่างรวดเร็ว[7] ทอมมี ฮิลฟิเกอร์มีตลาดแฟชั่นฮิปฮอปใหม่ คือนำแร็ปเปอร์ชื่อดังมาช่วยในการประชาสัมพันธ์บริษัท อย่างเช่น ดิดดี้ และ คูลิโอ ก็เคยเดินโชว์บนแคทวอล์คแล้ว[7]

ส่วนแบรนด์อื่นอย่าง FUBU, Ecko Unlimited, Mecca USA, Lugz, Rocawear, Boss Jeans by IG Design, และ Enyce ก็ก้าวสู่วงการสตรีทแวร์มากขึ้น[7] โดยพวกเขาตามทอมมี ฮิลฟิเกอร์ ด้วยการใส่โลโก้ขนาดใหญ่บนผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบอเมริกัน[7]

Throwback jerseys

Throwback jerseys คือแฟชั่นกีฬาที่ใส่เสื้อนักกีฬาฮีโร่ในอดีต เช่น จอห์นนี ยูนิทาส, ดร. เจ, มิกกี แมนเทิล เป็นต้น[8] หนึ่งในกระแสของสปอร์ตแวร์ที่เกิดขึ้นเช่นแบรนด์ Mitchell & Ness

Throwback jerseys ได้รับความนิยมสำหรับแฟชั่นฮิปฮอป อย่างเช่นในมิวสิกวิดีโอในช่วงแรก ๆ ของวิลล์ สมิธ ในช่วงต้นยุค 90 อย่างเพลง "Summertime" สไปค์ ลีก็เช่นกันใส่ชุดแบบ Los Angeles Dodgers ในภาพยนตร์เรื่อง Do the Right Thing แต่ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1990 เนื่องจากความนิยมมากขึ้น จึงทำให้ราคาเครื่องแต่งการแพงมาก ราคามากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ ศิลปินฮิปฮอปก็นิยมสวมใส่ชุดแบบนี้ในมิวสิกวิดีโอ ทำให้ความต้องการมากขึ้น จนมีการทำของปลอมเกิดขึ้น

ในช่วงกลางถึงปลายยุค 2000 ก็หันมาแต่เสื้อผ้าแบบนี้อย่างเช่น เจย์-ซี ที่ร้องเพลงแร็ปที่มีเนื้อว่า "And I don't wear jerseys, I'm 30-plus, Give me a crisp pair of jeans, Button up."